Saturday, September 8, 2018

ปลูกชาใบหม่อนไร้สารพิษไว้บริโภคเพื่อสุขภาพดีและมีอายุยืน

ปลูกชาใบหม่อนไร้สารพิษไว้บริโภคเพื่อสุขภาพดีและมีอายุยืน


 
จัดทำโดย อ. สุชาติ ภูวรัตน์
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
เพื่อการศึกษาและประโยชน๋แก่ผู้ชม

สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต เรียบเรียงโดย อ. สุชาติ ภูวรัตน์ 
หม่อน, ชาใบหม่อน ชื่ออังกฤษ White Mulberry, 
                                  Mulberry Tree ปลูกขึ้นในสวนสมุนไพร

     



หม่อน เป็นไม้พุ่มต้นขนาดเล็ก เปลือกต้นสีเทาอ่อน มีร่องตื้น กิ่งอ่อนมีขนละเอียด ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปหยักลึกใบมนหรือรูปหัวใจ ก้านใบมีขนสั้นปกคลุม ดอกเป็นช่อแบบหางกระรอกห้อยลง ออกตามซอกกิ่งซอกก้านใบหรือปลายกิ่งก้าน ช่อดอกมีขนสั้นนุ่มปกคลุม ผลรวมรูปไข่รีหรือทรงกระบอก ฉ่ำน้ำ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีแดงอมม่วง เมล็ดกลมเล็ก ปลูกขึ้นในเขตร้อนและอบอุ่นทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ


สรรพคุณ
      ยอด ต้มดื่ม บำรุงสายตา แก้ตาแดง ตาแฉะ ตามัว,
      ราก ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
      ใบ ต้มดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัด แก้ไอ แก้หอบหืด 
            หลอดลมอักเสบ,
      ใบแก่ มวนสูบ แก้ริดสีดวงจมูก
      ใบอ่อน และยอดอ่อน ใส่ในแกง เป็นอาหารมีโปรตีน 
             และแร่ธาตุต่างๆสูง
       ผล บำรุงไต ดับร้อน แก้วิงเวียนหน้ามืด คนจีนใช้รักษา
             โรคท้องผูก บำรุงโลหิต ขจัดลม,ใช้ทำน้ำผลไม้ 
              แยม เยลลี่ เป็นต้น
       กิ่ง ต้มดื่มช่วยทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก ทำให้ลำไส้
             ทำงานได้ดี ขจัดความร้อนในปอดและกระเพาะอาหาร
             ใช้รักษาอาการปวดมือ เท้าเป็นตะคริว เหน็บชา

ประโยชน์ และวิธีใช้ ยอดอ่อน ใบ ใบแก่ ใบอ่อน ผล กิ่ง ราก 
             ต้มน้ำดื่มแก้อาการต่างๆ ดังกล่าวได้ 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ลดน้ำตาลในเลือด และลดไขมันในเลือด 
             ต้านอักเสบ ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย

บรรณานุกรม
1. นลินภัสร์ ศักดิ์ติยสุนทร กัลยา อนุลขณาปกรณ์ ทรงพล ชีวะพัฒน์ ประไพ วงศ์สินคงมั่น ไพริน
    ทองคุ้ม นงนุช มณีฉาย และกาญจนา พรหมขจร. หม่อน (ชาใบหม่อน). หม่อนรักษ์คุณภาพชีวิต
    ส่งเสริมเศรษฐกิจไทย สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 
    หน้า 7-12, 16-21
    นนทบุรี: โรงพิมพ์ โรงพิมพ์ บริษัท พราว เพรส (2002) จำกัด 2554




No comments:

Post a Comment